วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

constructivism

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (constructivist theory) หรือ
คอนสตรัคติวิซึม (constructivism) ทฤษฎีการเรียนรู้

คอนสตรัคติวิซึม (constructivism) มีแนวคิดหลักว่า บุคคลเรียนรู้โดยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน ตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ความสนใจและแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐาน โดยแรงจูงใจนั้นส่วนให้จะเกิดจากปัญหา แล้วนำไปสู่การคิดหาวิธีแก้ไข และทำให้เกิดความรู้ใหม่กับตนเอง ซึ่งความรู้ใหม่ที่ได้ สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่มีความหมาย เป็นความรู้ที่สร้างด้วยตนเอง ความสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้โดยที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมโดยมีครูเป็นผู้คอยช่วยเหลือแนะนำเท่านั้น
รากฐานทางจิตวิทยาของ constructivist คือ ทฤษฎีของ Piaget มีความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยกลไกพื้นฐาน 2 อย่างคือ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการปรับโครงสร้าง(accommodation) ในกรณีที่ผู้เรียนประสบปัญหาที่ต้องแก้ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้างก็คือ ความสามารถในการตีความปัญหาหรือจัดปัญหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถแก้ได้ด้วยมโนทัศน์หรือวิธีการเดิมที่มีอยู่ ส่วนการปรับโครงสร้างก็คือความสามารถในการหาวิธีใหม่ หรือคำ อธิบายใหม่มา แก้หรือตีความปัญหา เมื่อวิธีเดิมหรือมโนทัศน์เดิมที่มีอยู่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ได้
รากฐานทางปรัชญา ความรู้คือความสามารถของแต่ละบุคคลในการปรับประสบการณ์เก่าที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่ได้ด้วยกระบวนการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ และมีความสมเหตุสมผล และขจัดความขัดแย้งระหว่างความคิดในประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่
1.ธรรมชาติของผู้เรียน
ผู้เรียนนั้นเป็นผู้กระทำเพราะฉะนั้น การปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนก็ต่องมีความแตกต่างกันออกไปเพราะแต่ระบุคล ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข้อมูล การตีความข้อมูล หรือการหาแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และนักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ กันโดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น และความรับผิดชอบต่อการเรียนนั้นต้องขึ้นอยู่กับบุคคลเป็นหลัก เพราะฉะนั้นจึงเน้นความสำคัญของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
2. บทบทของผู้สอน
โดยที่ครูผู้สอนจะมีหน้าที่ เพียงแค่เป็นผู้ช่วย และเป็นผู้จัดสถานการณ์ สร้างบรรยากาศในการเรียนให้กับนักเรียน เป็นผู้คอยดูแลเมื่อนักเรียนมีปัญหาก็ให้คำแนะนำปรึกษา หรือคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และการออกแบบบรรยากาศในการเรียนรู้นั้นจะต้องให้ผู้เรียนเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้และต้องมีความท้าทาย จึงทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด
3. กระบวนการลักษณะการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นงานทางสังคม เป็นการเรียนรู้โดยมีการปฏิสัมพัธ์กับผู้คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมรอบข้างต่าง ๆ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ทั้งสองส่วนจะต้องีความสัมพันธ์ พึ่งพากัน สอดคล้องกัน โดยที่ผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา และให้ความรู้ ส่วนผู้เรียนนั้นได้ประโยชน์จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอน ทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหา และเกิดเป็นความรู้ใหม่ ผู้สอนจะเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ซับซ้อนขั้น และคอยตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด
5. การร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน
ก็เหมือนกับการทำงานกลุ่ม และการทำงานทาสังคมที่จะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การยอมรับฟังความคิดเห็น และข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น โดยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ร่วมมือกัน
6. บริบทสำคัญของกระบวนการทัศน์ constructivism
จะเน้นที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางทางการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้เก่าและความรู้ใหม่
7. ด้านการประเมิน
เน้นประเมินศักยภาพของผู้เรียนที่แท้จริง เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง สังเกตุจากการมีส่วนร่วมในการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8. ขอบเขตในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดได้จากศาสตร์หลายแขนงในการเชื่อมโยงกัน และการเรียนจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กัยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่ต้องใช้หลายวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่นักเรียนจัดกระทำขึ้นเอง
9. กระบวนการเรียนรู้
- การเรียนรู้แบบการสืบค้น
- การเรียนรู้แบบใช้ปัญหา
- การฝึกกระบวนการคิด
- การเรียนแบบจิ๊กซอว์
10. สรุป constructivism
constructivist เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาแนวหนึ่ง ที่เน้นตรงการสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนต้องสร้างความรู้ใหม่นั้นด้วยตนเอง ด้วยการเชื่อมประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วกับความรู้ ใหม่ ซึ่งอาศัยบรรยากาศที่เหมาะสม การทำ งานร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น